บุคคล VS นิติบุคคล ทำธุรกิจแบบไหนประหยัดภาษีได้มากกว่ากัน
เรามาดูกันว่าความแตกต่างของการทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา และ รูปแบบนิติบุคคลมีอะไรที่แตกต่างกันบ้าง
จำนวนของผู้ถือหุ้น
บุคคลธรรมดา หรือ เจ้าของคนเดียว ซึ่งชื่อก็บ่งบอกอยู่แล้วว่า ทำคนเดียว
นิติบุคคล จะแบ่งเป็น
เงื่อนไขความรับผิดชอบ กรณีกิจการมีหนี้สิน
บุคคลธรรมดา หากกิจการมีภาระหนี้สิน เจ้าของก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
นิติบุคคล จะแบ่งเป็น
ค่าธรรมเนียม
บุคคลธรรมดา กรณีที่มีการจดทะเบียนพาณิชย์ มีค่าธรรมเนียนในการจด 50 บาท สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์
นิติบุคคล จะแบ่งเป็น
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
รูปแบบเงินได้ หรือ ผลตอบแทน
บุคคลธรรมดา จะได้จากกำไรของกิจการที่เหลืออยู่ทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว จะถือว่าเป็นเงินได้ประเภท 40(8)
นิติบุคคล จะได้จากเงินได้ประเภท 40(1) เงินเดือน, เงินได้ประเภท 40(2) ค่าจ้าง ค่าที่ปรึกษา ค่าเบี้ยเลี้ยง, เงินได้ประเภท 40(4) เงินปันผล, เงินได้ประเภท 40(5) ค่าเช่าบ้าน เช่ารถ
การทำบัญชี
บุคคลธรรมดา การทำธุรกิจในรูปแบบเจ้าของคนเดียว ทางภาครัฐไม่ได้มีการบังคับว่าต้องทำบัญชี
นิติบุคคล ต้องมีการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานบัญชี และ มีผู้สอบเซ็นอนุมัตงบ
*ซึ่งค่าใช้จ่ายในการจัดทำบัญชีนั้นจะขึ้นอยู่กับบริการของแต่ละสำนักงานบัญชีที่ทำให้ ว่าจัดทำอะไรให้กับกิจการเราบ้าง
อัตราภาษี และ การเสียภาษี
บุคคลธรรมดา จะเป็นอัตราขึ้นบันได ดังต่อไปนี้
นิติบุคคล จะแบ่งเป็น SME คือ ธุรกิจที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท
Non SME จะเสียภาษีตั้งแต่ 1 บาทในอัตรา 20%
หากคุณอ่านมาถึงตรงนี้ก็จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนว่า ข้อดี และ ข้อเสียของธุรกิจแต่ละรูปแบบเป็นอย่างไร หากคุณคิดที่จะทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดาต่อ เนื่องจากชอบความสะดวกในการทำคนเดียว ไม่ต้องยุ่งยากในการทำเอกสารบัญชี รับเงินคนเดียว แต่คุณก็รับภาระภาษีในส่วนนี้ให้ได้ แต่หากคุณคิดที่จะเปลี่ยนเป็นนิติบุคคลเพื่อความน่าเชื่อถือที่มากกว่า และอัตราภาษีที่น้อยลง คุณก็ต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องการทำเอกสารบัญชีต่างๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการจ้างทำบัญชีที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้นคุณควรคิดให้ดีก่อนตัดสินใจว่าจะทำธุรกิจในแบบไหนที่จะประหยัดเงินในกระเป๋าได้มากกว่ากัน เพราะหากคุณเลือกผิดก็อาจทำให้คุณเสียเงินเกินกว่าที่จะเป็นได้