วิธีปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลบนโลกออนไลน์
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีพัฒนาไปไกลมาก การใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น ข้อมูลที่สำคัญต่างๆก็ถูกจัดเก็บไว้บนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน กิจกรรมยามว่างต่างๆ เช่น เล่นเกมส์ออนไลน์ ฟังเพลงออนไลน์ การซื้อขายของออนไลน์ การทำธุรกรรมทางการเงินก็ต้องผ่านสื่อออนไลน์ไปซะหมด ในบางครั้งเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลไปยังช่องทางออนไลน์ที่มีเหล่านี้ ดังนั้นเราควรที่จะเรียนรู้วิธีการที่จะป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวที่มูลค่าของเรานั้นรั่วไหลไปสู่มือของผู้ไม่หวังดี
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหากไม่รู้จักวิธีปกป้องข้อมูลส่วนตัว
ถูกรบกวนด้วยโฆษณาออนไลน์ต่างๆ
เคยสังเกตุหรือไม่!! หลังจากที่คุณได้ทำการค้นหาสินค้า สถานที่ท่องเที่ยวหรืออะไรก็ตามที่สนใจผ่านอินเทอร์เน็ตหลังจากนั้นก็มักจะมีโฆษณาออนไลน์โผล่ไปกวนใจในช่องทางต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, แทรกอยู่ภายในเว็บไซต์ต่างๆ บางครั้งอาจส่งมาเป็น SMS หรืออีเมล ทั้งนี้อาจเกิดจากนายหน้าขายข้อมูลมีการเก็บประวัติการใช้งานบนโลกออนไลน์ของคุณไม่ว่าจะเป็น อายุ เพศ รายได้ เบอร์โทร ตำแหน่งที่อยู่อาศัย หรือ สิ่งที่คุณทำการค้นหาบ่อยๆ จากนั้นนำข้อมูลของคุณไปขายให้แก่องค์กรต่างๆ เพื่อที่องค์กรเหล่านั้นจะกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการยิงโฆษณาสินค้าและบริการของตน
ถูกเรียกค่าไถ่
อย่างที่เราได้ยินบ่อยๆตามข่าวว่าหลายๆหน่วยงานในไทยโดนแฮกเกอร์ปล่อยไวรัสเข้าสู่ระบบเพื่อเจาะระบบไม่ให้เข้าใช้งาน ขโมยฐานข้อมูล และข่มขู่ว่าจะทำการลบข้อมูล หรือเผยแพร่ข้อมูลที่ได้ไปในอินเตอร์เน็ตหากเหยื่อไม่ดำเนินการชำระเงินภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งหลายคน และหลายบริษัทไม่สามารถกู้ข้อมูลในระบบคืนได้จึงจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าไถ่ตามคำเรียกร้องซึ่งเป็นจำนวนมหาศาลเพื่อป้องกันการเสียชื่อเสียง หรือภาพลักษณ์ขององค์กร และถึงแม้ว่าคุณจะทำการชำระเงินไปแล้วผ่านช่องทางใดๆก็ตามเพื่อจ่ายค่าไถ่ แต่ไม่ได้การันตีว่าจะได้ปลดล็อคไฟล์ หรือได้ข้อมูลคืน
เทคนิคนี้เป็นการปล่อยมัลแวร์ชนิดหนึ่งเรียกว่า “แรนซัมแวร์” (Ransomware) จะถูกส่งไปในรูปแบบลิงค์เว็บไซต์ เอกสารแนบทางอีเมล ส่งให้เป้าหมายมักใช้หัวข้อประโยคขึ้นต้นน่าสนใจและมีความน่าเชื่อถือ ชนิดของไฟล์แนบจะเป็น “.doc”, “.xls”, “.exe” ทำให้ “ผู้รับ” อาจคิดว่าเป็นไฟล์เอกสาร Word หรือ Excel ธรรมดา เมื่อมีการคลิกเปิดอีเมล ก็จะนำมาสู่ “แรนซัมแวร์” ฝังลงระบบคอมพิวเตอร์ จากนั้นจะทำการขโมยข้อมูลจากเครื่องของเหยื่อออกไป โดยการเข้ารหัสไฟล์ และสร้างเว็บไซต์เพื่อแสดงข้อความเรียกค่าไถ่ พร้อมทั้งแสดงข้อมูลบางส่วนที่ได้ถูกขโมยออกไป และมีการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไม่ให้กู้คืนไฟล์ในเวอร์ชันก่อนหน้า หากมีการส่งอีเมลข้อมูลต่อให้บุคคลอื่น “แรนซัมแวร์” ก็จะติดไปกับอีเมลข้อมูลนั้นๆด้วยเช่นกัน กลายเป็นการขยาย “ไวรัส” ไปติดระบบ คอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีการแฝงตัวมาในรูปแบบโฆษณาตามหน้าเว็บไซต์ หรือโปรแกรมปลอมต่างๆอีกด้วย
ถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล
การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล คือ การขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นไปใช้ฉ้อโกงหรือก่ออาชญากรรมอื่นๆ โดยมีรูปแบบกลโกงต่างๆ เช่น Phishing เป็นเทคนิคที่แฮกเกอร์นิยมใช้มากอันดับนึง Phishing คือ เทคนิคการขโมยข้อมูลผ่านทางอีเมลโดยจะสร้างเป็นอีเมลปลอมที่มีรูปแบบอีเมลเหมือนหน่วยงานราชการ สถาบันการเงิน ธนาคารต่างๆที่ให้ผู้ใช้งานหลงคลิกลิงค์ที่แนบมาในอีเมลเพื่อหลอกขโมยข้อมูลหรือหลอกให้โหลดมัลแวร์ หรืออาจจะมาในรูปแบบของเว็บไซต์เลียนแบบหน่วยงานราชการ สถาบันทางการเงิน ธนาคาร หลอกให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น เลขบัตรประจำตัวประชาชน, เบอร์โทรศัพท์, Email, Password และอื่นๆ หลังจากนั้นก็นำข้อมูลของคุณไปใช้ทำบัตรเครดิต กู้เงิน หรือเปิดบัญชีใหม่ เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้คุณเป็นหนี้และเสียเครดิตโดยไม่รู้ตัว
วิธีปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล
ไม่มีอะไรที่เป็นส่วนตัวอย่างแท้จริงบนโลกออนไลน์ และถึงแม้ว่าจะมีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ออกมาบังคับใช้แล้ว เราในฐานะเจ้าของข้อมูลก็ควรที่จะเรียนรู้และหาวิธีป้องกันข้อมูลส่วนตัวของเราเองไม่ให้รั่วไหลไปตกอยู่ในมือของผู้ที่ไม่หวังดี หรืออาชญากรรมไซเบอร์ที่เริ่มแพร่ระบาดมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้ยังมีอีกหลากหลายเทคนิควิธีที่ยังไม่ได้กล่าวถึง และยังมีเทคนิคใหม่ๆที่แฮกเกอร์จะสามารถใช้ในการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลดังนั้นเราควรศึกษา อัพเดตความรู้ ติดตามข่าวสาร และหาวิธีป้องกันใหม่ๆอยู่เสมอ
TIPS : คุณสามารถตรวจสอบระดับความปลอดภัยของรหัสผ่านของคุณได้จาก ลิงค์: https://howsecureismypassword.net/
TAG : PDPA, Ransomeware, วิธีปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล, ข้อมูลส่วนบุคคล