กรณีศึกษา UNIQLO แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นระดับโลก
จากร้านขายเสื้อผ้าสู่แบรนด์เสื้อผ้าชั้นนำระดับโลก กรณีศึกษา UNIQLO ก่อตั้งโดยคุณทาดาชิ ยานาอิ หลังจากที่เขาได้ลาออกจากงานในวัยเพียง 20 กว่าปีเพื่อสารต่อกิจการร้านขายเสื้อผ้าของครอบครัวซึ่งมีช่วงเวลาที่เขาได้พบกับการบริหารงานที่ล้มเหลว จากนั้นเขาจึงได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์นั้นมาใช้จนสามารถสร้างแบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นที่ขยายสาขาไปแล้วกว่า 1,920 สาขาทั่วโลกภายในระยะเวลา 20 ปี มีลูกค้าชาวต่างชาตินิยมเป็นอย่างมาก รายได้หลักจึงมาจากธุรกิจสาขาต่างประเทศ
การเดินทางช่วยให้รู้จักลูกค้าและขยายธุรกิจให้เติบโต คุณทาดาชิ ยานาอิ ชอบเดินทางไปต่างประเทศเพื่อศึกษาวัฒนธรรมของชาวหนุ่มสาวด้วยความหลงใหลเพื่อศึกษาพฤติกรรมของลูกค้ารวมถึงอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและยังศึกษาแบรนด์ต่าง ๆ ที่ประสบความสำเร็จในยอดขาย กรณีศึกษา UNIQLO คือจะมีการสำรวจการตลาดและคู่ค้าอยู่เสมอเพื่อนำมาพัฒนาสินค้าเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของลูกค้า
กรณีศึกษา UNIQLO เชิงกลยุทธ์
1. การให้คุณค่าของแบรนด์ UNIQLO มีแนวความคิดที่จะทำให้ชีวิตของลูกค้าดีขึ้นด้วยสินค้าที่ดี มีคุณภาพ มีความเรียบง่าย ในราคาที่เข้าถึงได้ผ่านการสื่อสารต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิต กิจกรรมทางการตลาดเพื่อให้ลูกค้าได้รับรู้
2. การเจาะกลุ่มเป้าหมายแบรนด์ UNIQLO จะทำการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ Mass เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงได้มากที่สุดและไม่ยึดติดกับการแต่งตัวจึงสื่อสารออกไปให้ครอบคลุมกับคนทุกกลุ่มให้มากที่สุด
3. ด้านความยั่งยืน มีการนำวัตถุดิบที่สามารถรีไซเคิลได้มาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดภายใต้แคมเปญ “Give your clothes a new life”
4. กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ กรณีศึกษา UNIQLO คือการที่ทุ่มเทงบประมาณไปในการออกแบบสินค้าเพื่อสร้างความแตกต่างจากแบรนด์อื่นและยังมีการนำนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการผลิต รวมถึงการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าจากการทำสื่อโฆษณาให้ลูกค้าได้รับชม
สิ่งที่ทำให้แบรนด์ UNIQLO ประสบความสำเร็จ
1. เรียนรู้จากความผิดพลาด แม้ว่าคุณทาดาชิ ยานาอิ จะล้มเหลวจากการบริหารกิจการครอบครัวในช่วงแรกแต่เขาก็ได้นำมาเป็นการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองจนประสบความสำเร็จ ด้วยการศึกษาจากคนที่ประสบความสำเร็จ
2. มีการสำรวจการตลาดและศึกษาพฤติกรรมของลูกค้า มีการเดินทางเพื่อศึกษาเก็บข้อมูลของกลุ่มลูกค้ารวมถึงแบรนด์ต่าง ๆ ที่ประสบความสำเร็จในยอดขายเพื่อนำมาพัฒนาสินค้าให้ดีขึ้น
3. การสร้างความแตกต่างและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง UNIQLO มีการสร้างความแตกต่างให้กับสินค้า และยังมีการใช้นวัตกรรมในการพัฒนาสินค้าให้ดีเพื่อส่งต่อให้กับลูกค้าภายใต้แนวคิดที่ต้องการให้ลูกค้ามีชีวิตที่ดีขึ้น
กรณีศึกษา UNILO คือการสร้างสินค้าที่ดี มีความเรียบง่าย เพื่อให้ลูกค้าไม่ยึดติดกับการแต่งตัวผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพ พัฒนาอยู่เสมอเพื่อส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้กับลูกค้ารวมถึงใช้หลักของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย