เรื่องการบินไทยซึ่งเป็นสายการบินประจำชาติขาดทุนจนถึงกับมีเสียงแตกออกมาว่าควรอุ้มและควรปล่อยมือ ถือได้ว่าเป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งที่อยู่ในความสนใจของคนไทยอยู่ไม่น้อย กรณีศึกษาการบินไทย ขาดทุนจนต้องฟื้นฟูธุรกิจ นั้น จะทำให้เราได้เรียนรู้อะไรได้บ้าง มาตามอ่านไปพร้อมๆกัน
กรณีศึกษา การบินไทย ขาดทุนจนต้องฟื้นฟูธุรกิจ
เรื่องการบินไทยซึ่งเป็นสายการบินประจำชาติขาดทุนจนถึงกับมีเสียงแตกออกมาว่าควรอุ้มและควรปล่อยมือ ถือได้ว่าเป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งที่อยู่ในความสนใจของคนไทยอยู่ไม่น้อย กรณีศึกษาการบินไทย ขาดทุนจนต้องฟื้นฟูธุรกิจ นั้น จะทำให้เราได้เรียนรู้อะไรได้บ้าง มาตามอ่านไปพร้อมๆกัน
เมื่อเอ่ยถึงสายการบินประจำชาติ “การบินไทย” คงไม่มีใครไม่รู้จัก และข่าวที่ทุกคนได้ยินมาตลอดก็คือผลการดำเนินงานของสายการบินนี้ขาดทุนสะสมต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน มี 2 ทางให้เลือกคือปล่อยให้ล้มละลาย หรือขายทรัพย์สินมาใช้หนี้คืน ซึ่ง กรณีศึกษาการบินไทย นั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจเอามากๆ ว่าเป็นเพราะสาเหตุใดการบินไทยถึงได้พาตัวเองมาถึงจุดนี้ แต่ด้วยความที่การบินไทยเป็นสายการบินประจำชาติซึ่งรัฐบาลคงไม่ปล่อยให้ล้มละลายแต่จะนำเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการแทน
ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้การบินไทยขาดทุนได้แก่
- ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสูงมาก เช่น ค่าโอที ตรวจพบว่าพนักงานหนึ่งคนสามารถทำโอทีสูงสุดได้ถึง 3,354 ชั่วโมง และมีวันทำโอทีสูงถึง 419 วัน
- ผู้ที่ดำรงตำแหน่งรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่มพิเศษเดือนละ 2 แสนบาท และเมื่อเวลาผ่านไป 9 เดือน เงินค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มเป็น 6 แสนบาท
- ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สายงานพาณิชย์ไม่มีการทำงบประมาณการ แต่ใช้วิธีการเปลี่ยนแปลงงบประมาณเองโดยผ่านบอร์ดบริหารนโยบายของบริษัท
- ในปี 2562 พบว่ามีการขายตั๋วโดยสารในราคาที่ต่ำมาก
- มีการเอื้อประโยชน์ให้กับตัวแทนจำหน่ายตั๋วโดยสาร แต่การบินไทยกลับได้รับเงินไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
- มีการแต่งตั้งคนของตัวเองให้ไปเป็นผู้จัดการฝ่ายขายในต่างประเทศ มีการกำหนดเป้าหมายยอดขายเพื่อให้ได้ incentive และผู้จัดการฝ่ายขายในต่างประเทศต้องหัก 10% ของค่า incentive ส่งเข้ากองทุนที่ไม่มีประกาศ หรือกฎหมายของบริษัทรองรับ
สิ่งที่ผู้ประกอบการควรนำไปประยุกต์ใช้จาก กรณีศึกษาการบินไทย ได้แก่
- ในการทำธุรกิจสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือ “ความซื่อสัตย์” องค์กรและธุรกิจจะไปต่อได้อย่างไรถ้าคนในองค์กรมีการทุจริตกันอย่างใหญ่โตมโหฬาร
- การปรับโครงสร้างให้เหมาะสมก็สำคัญเช่นกัน การที่โครงสร้างองค์กรใหญ่เกินไปก็ส่งผลต่อการดูแลให้ทั่วถึง และก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้นตามไปด้วย
กรณีศึกษาการบินไทย ขาดทุนจนต้องฟื้นฟูธุรกิจ นั้น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการขาดทุนก็คือปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในองค์กร ดังนั้นเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องปลูกฝังคนในองค์กรให้มีความซื่อสัตย์ต่อองค์กรที่ตนทำงานอยู่