กรณีศึกษา เจคิวปูม้า เจ้าแม่อาหารทะเลเดลิเวอรี่
เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง แม้กระทั่งการให้ได้มาซึ่งปัจจัย 4 อันได้แก่ ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่มห่ม และอาหาร ในปัจจุบันเราสามารถขายอาหารผ่านทางโซเชียลมีเดียได้อย่างง่ายดาย แถมยังเข้าถึงผู้บริโภคได้ในจำนวนมากๆ อย่างเช่น กรณีศึกษา เจคิวปูม้า ที่ใช้โซเชียลมีเดียสร้างโอกาสเพิ่มช่องทางการขายแบบออนไลน์ เพื่อให้สินค้าของตนถึงมือผู้บริโภคได้เร็วและง่ายดายยิ่งขึ้น ในวันนี้ เรามาเรียนรู้กันว่า เจคิวปูม้า เจ้าแม่อาหารทะเลเดลิเวอรี่ ที่สามารถสร้างรายได้ถึง 100 ล้านบาท และนับเป็นเจ้าแรกที่คิดทำปูม้านึ่ง แบบเดลิเวอรี่ เขาประสบความสำเร็จได้อย่างไร และเราจะนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของเราได้อย่างไรบ้าง
กรณีศึกษา เจคิวปูม้า เริ่มต้นจากผู้ก่อตั้งคือ คุณสุรีรัตน์ ศรีพรหมคำ หรือคุณโอ๋ อายุ 35 ปี โดยเธอใช้เวลาเพียง 2 ปี สามารถสร้างรายได้ถึง 100 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นเจ้าแรกที่คิดทำปูม้านึ่งแบบเดลิเวอรี่ โดยไม่มีหน้าร้าน ถ้าอยากกินต้องโทรสั่งหรือไม่ก็คลิ๊กสั่งอาหารก็มา ทั้งนี้แรกเริ่มเดิมที เป็นเพราะความมุ่งมั่นที่อยากจะแก้ปัญหาให้กับร้านของแม่ที่ประสบปัญหาวัตถุดิบอาหารทะเลที่ขายส่งให้กับโรงแรมและร้านอาหารต่าง ๆ เหลือทิ้งอยู่บ่อย ๆ และเจอปัญหาลูกค้าไม่จ่ายเงินบ้าง โดนตีกลับบ้าง คุณสุรีรัตน์จึงตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบการขายจากขายส่งมาเป็นการขายอาหารทะเลแบบออนไลน์ ซึ่งนับว่าเป็นเจ้าแรกที่มีการคิดขายอาหารทะเลผ่านเฟซบุ๊ค ไลน์ และอินสตาแกรม นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการจัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ทั่วไทย โดยมียอดสั่งซื้อทั้งปูทั้งกุ้งอยู่ที่ 10 ตันต่อเดือน ปัจจุบันสามารถเดลิเวอรี่อาหารทะเลยอดขายถึง 600 ล้านบาทต่อปี
บทเรียนและแนวคิดที่สามารถนำมาปรับใช้จาก กรณีศึกษา เจคิวปูม้า มีดังนี้
กรณีศึกษา เจคิวปูม้า ทำให้เราต้องมองว่า ตัวเรามีจุดแข็งตรงไหน มีทรัพยากรอะไรในมือบ้างแบบไม่ต้องหาซื้อ ซึ่งจากกรณีศึกษาทำให้เราเห็นว่า ยิ่งเราใช้หรือทำจากสิ่งที่เรามี เราจะยิ่งสำเร็จและได้กำไรมากขึ้น