รับส่วนลด 300 บาทสำหรับการซื้อครั้งแรก

การสื่อสารการตลาดทำอย่างไร

03 มีนาคม 2564
การสื่อสารการตลาดทำอย่างไร
เคยสังเกตกันไหมว่า ทำไมสินค้าบางชนิด ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ Chanel เราถึงรู้สึกว่ามันช่างหรูหราน่าจับจอง หรือแม้แต่ iPhone ที่สร้างปรากฏการณ์สาวกคลั่งไคล้แห่จองกันข้ามเดือนข้ามปี นั่นเพราะเขามีการสื่อสารที่ดีส่งผลให้สินค้าดูมีมูลค่า หรือที่เราเรียกกันว่า การสื่อสารการตลาด นั่นเอง

การสื่อสารการตลาดทำอย่างไร

องค์ประกอบเบื้องต้นของการสื่อสารการตลาด ประกอบด้วย

  • ผู้ส่งสาร ได้แก่ เจ้าของแบรนด์สื่อโฆษณา ผู้จัดจำหน่ายทำหน้าที่ส่งสารด้วยภาพ เสียง กลิ่น ตัวอักษรฯ เรียกว่าเป็นภาพลักษณ์ของสินค้านั้นๆ ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด กระตุ้นให้เกิดการรับรู้ จดจำ คล้อยตาม

 

  • ผู้รับสาร ได้แก่ ผู้บริโภค ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายแต่ละประเภท ฉะนั้นการสื่อสารที่ดีจะต้องสร้างภาพจำให้ลูกค้าหลับตานึกถึงเป็นอันดับต้นๆ เกิดความภักดีต่อแบรนด์ส่งผลให้เกิดการซื้อซ้ำและการบอกต่อ

 

6  การสื่อสารการตลาด สำหรับธุรกิจ

 

1. การโฆษณา (Advertising) เป็นกิจกรรมทางการตลาดที่ต้องการให้สินค้ารู้จักเป็นวงกว้างในระยะเวลาสั้นๆ แนะนำสินค้าให้เป็นที่รู้จัก โดยส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในกรณี การสร้างความแตกต่าง สร้างภาพจำ หรือขยายฐานลูกค้าออกไป

 

2. การประชาสัมพันธ์ (Public Rotation’s) เป็นสร้างภาพลักษณ์ให้สินค้าและเป็นการสื่อสารเพื่อให้ผู้บริโภคจดจำคุณลักษณะของตัวสินค้าได้ สร้างข้อแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ ตอกย้ำจุดเด่นของสินค้าในการมัดใจผู้ซื้อ

 

3. การตลาดทางตรง (Direct Marketing Communication) เป็นการติดต่อกับลูกค้าโดยตรง  อาจถูกนำมาใช้ก่อนการผลิตสินค้าจริง โดยการสอบถามหาข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หรือสร้างความพิเศษแบบตัวต่อตัว ทำให้ลูกค้ารู้สึกมีความสำคัญ อาทิ การส่งเมลล์ส่วนตัว เป็นต้น

 

4. การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการตลาด (Sale Promotion Communication) เป็นกิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มยอดขายให้เร็วขึ้น อาทิเช่น ส่วนลดโปรโมชั่น สิทธิสมาชิกบัตร เรทราคาสินค้าส่งหรือถูกลงในการซื้อปริมาณมาก ทั้งนี้เพื่อหาลูกค้าใหม่ และรักษาฐานลูกค้าเก่าให้คงอยู่ และทำให้ขายได้มากขึ้นกว่าปกติ

 

5. สื่อสารแบบส่วนตัว (Personal Communication) เป็นการตลาดที่ต้องใช้พนักงานหรือตัวแทนสื่อสารกับลูกค้า มักถูกนำมาใช้กับกรณีสินค้านั้นมีรายละเอียดหรือมีความซับซ้อน เช่น ประกันชีวิต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ วึ่งในแต่ละบุคลก็มีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างตามตัวบุคคล

 

6. การสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด (Sponsorship and Event) คือ กิจกรรมที่กระตุ้นการขาย เพื่อสร้างการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น มักถูกนำมาในใช้กรณี ต้องการขายโดยพนักงาน PR สินค้าออกบูท หรือต้องการส่งเสริมการขายให้กับผู้ค้าปลีก เพื่อกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม


กิจกรรม การสื่อสารการตลาดต้องอาศัยการทำการบ้านที่ดี มีข้อมูลแม่นยำ นั่นก็เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมาย สินค้าครองใจผู้บริโภค และลดปัญหาค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต


บทความที่คล้ายกัน