รับส่วนลด 300 บาทสำหรับการซื้อครั้งแรก

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

08 กุมภาพันธ์ 2564
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

ใครมีหน้าที่ ที่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มบ้าง

1.  ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องทำการแจ้งจดที่กรมสรรพากรพื้นที่ภายใน 30 วัน

 

2.  ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้มีการดำเนินการ และเตรียมการประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร

 

3. ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการจดทะเบียน


อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ในประเทศไทย มีดังนี้

1. อัตรา 10% จะประกอบไปด้วย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 9% บวกกับ ภาษีที่ท้องถิ่น อีกในอัตรา 1% เป็น 10% ซึ่งเป็นอัตราที่หลายๆคนไม่คุ้นเคย เนื่องจากทางภาครัฐได้มีการประกาศให้ลดเหลือ 7% ทุกๆปี

 

2. อัตรา 0% ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการขายส่งออกสินค้า หรือ ให้บริการในต่างประเทศ จะไม่ต้องเสียมูลค่าเพิ่มทางฝั่งภาษีขาย และยังสามารถใช้ในส่วนฝั่งภาษีซื้อได้ปกติ

 

3. ได้รับยกเว้น ตัวอย่างเช่น ขายเกี่ยวกับ พืชทางการเกษตร , สัตว์ ถ้าคุณทำธุรกิจดังข้างตน ต่อให้มีรายได้มากแค่ไหนก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

อ่านรายละเอียดธุรกิจที่ได้รับยกเว้นเพิ่มเติมได้ที่ https://www.rd.go.th/7060.html


หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้า หรือ ผู้รับบริการ ทุกครั้ง

 

2. ออกใบกำกับภาษี การออกใบกำกับภาษีนั้นควรมีข้อมูลครบถ้วนตามที่สรรพากรกำหนด มิเช่นนั้นอาจทำให้ไม่สามารถใช้ใบกำกับภาษีใบนั้นได้ ดูตัวอย่าดังต่อไปนี้

ใบกำกับภาษีอย่างเต็มรูปแบบ


ใบกำกับภาษีอย่างย่อ

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดเอกสาร

 

3. จัดทำรายงานภาษีซื้อ และ ภาษีขาย ซึ่งเป็นการสรุปว่าแต่ละเดือนมีภาษีที่เสียเท่าไหร่ เพื่อทำการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มรายเดือน

 

4. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) สามารถยื่นภาษีได้ 2 ช่องทางดังนี้

  • ยื่นแบบกระดาษ สามารถยื่นได้ที่กรมสรรพากรพื้นที่ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
  • ยื่นทางออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร ซึ่งข้อดีของการยื่นออนไลน์คือ จะเพิ่มระยะเวลาในการชำระยื่นเพิ่มอีก 8 วัน โดยจะยื่นภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป

ตัวอย่าง การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มกรณียังไม่รวม VAT ในสินค้า

ค่าสินค้า                            1,000   บาท

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%               70      บาท

รวมทั้งสิน                           1,070  บาท 

 

ตัวอย่าง การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มกรณียังรวม VAT ในสินค้า

ค่าสินค้า                             9,345.79   บาท

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%               65.42       บาท

รวมทั้งสิน                           1,000        บาท

สูตรการคำนวณ

 ราคาที่รวม VAT * 7/107 = ภาษีมูลค่าเพิ่ม 


บทความที่คล้ายกัน