รับส่วนลด 300 บาทสำหรับการซื้อครั้งแรก

รูปแบบของธุรกิจระหว่างประเทศ

27 สิงหาคม 2564
รูปแบบของธุรกิจระหว่างประเทศ

รูปแบบของธุรกิจระหว่างประเทศ

การจำแนกธุรกิจระหว่างประเทศมักจะพิจารณาจากรูปแบบการดำเนินงานของธุรกิจนั้น แต่ถ้าคำนึงถึงการแบ่งประเภทตามการบันทึกในบัญชีดุลการชำระเงิน (Balance of payment) เป็นหลักจะจำแนกธุรกิจได้ 5 ประเภทใหญ่ ๆ คือ


1. การส่งออกและนำเข้าสินค้า (Merchandise Exports and Imports) การส่งออกสินค้าเป็นการส่งผลิตภัณฑ์ที่มีตัวตนออกจากประเทศและการนำเข้าสินค้าเป็นการนำเอาผลิตภัณฑ์ที่มีตัวตนเข้าประเทศซึ่งประเทศส่วนใหญ่จะมีการส่งออกและนำเข้าสินค้าเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายหลักของประเทศ การส่งออกและนำเข้าจึงนับเป็นธุรกิจระหว่างประเทศที่มีปริมาณมากที่สุด

นอกจากนั้น การส่งออกและนำเข้าสินค้ามักจะเป็นก้าวแรกของการเข้าสู่การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศเพราะซับซ้อนน้อยที่สุด และมีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับธุรกิจระหว่างประเทศประเภทอื่น เช่นโรงงานเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีกำลังการผลิตสูงจะผลิตในปริมาณที่เกิดการประหยัดโดยขนาดซึ่งมากเกินความต้องการของลูกค้าภายในประทศ จึงต้องระบายสินค้าด้วยการส่งออกไปขายยังประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้เคียง การส่งออก เช่นนี้ไม่ต้องมีการลงทุนเพิ่มในเครื่องจักรอุปกรณ์ และอาจว่าจ้างคนกลางให้กระทำการด้านการตลาดแทนได้ แม้ธุรกิจระหว่างประเทศบางแห่งจะพัฒนารูปแบบให้ก้าวไกลกว่าการส่งออกและนำเข้าสินค้าแล้ว เช่น ตัดสินใจไปลงทุนสร้างโรงานผลิตสินค้าในประเทศของลูกค้า หรือซื้อลิขสิทธิ์การผลิตสินค้าที่เคยนำเข้ามาทำการผลิตเองภายในประเทศ แต่ก็อาจยังไม่ละทิ้งหรือล้มเลิกการส่งออกและนำข้าไปเสียทั้งหมด แต่จะพยายามคงไว้ด้วยการขยายตลาดใหม่ หรือเพิ่มชนิดของธุรกิจที่ดำเนินการให้หลากหลายยิ่งขึ้น

 

2. การส่งออกและนำเข้าการบริการ (Service Exports and Imports) การส่งออกและนำเข้าบริการที่มีศักยภาพการดำเนินงานสูงสามารถสร้างรายได้จำนวนมากและกำลังขยายตัวในอัตราที่สูง ผลิตภัณฑ์บริการเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน แต่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้และมีมูลค่า จึงมีการแยกการส่งออกและนำเข้าบริการออกจากการส่งออกและนำเข้าสินค้า การบริการที่ไทยสามารถส่งออกและมีรายได้เข้าประเทศ ได้แก่ การบริการการท่องเที่ยว การให้บริการทางการแพทย์ สปาและนวดแผนไทย ร้านอาหารไทยในต่างแดน และไทยนำเข้าบริการ ได้แก่ ธนาคาร การขนส่งด้วยเรือระหว่างประเทศ การแสดงของศิลปินจากต่างประเทศ เป็นต้น

 

3. การลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ (Foreign Direct Investment)  เป็นการที่ผู้ลงทุนเคลื่อนย้ายเงินทุน เทคโนโลยี และบุคลากรมาดำเนินธุรกิจในอีกประเทศหนึ่ง โดยสามารถควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจในประเทศนั้นได้แม้ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ก็ตาม การลงทุนโดยตรงระหว่างประทศมีความเสี่ยงมากกว่าการส่งออก จึงมักจะเกิดขึ้นหลังจากธุรกิจทดลองนำเข้าและส่งออกจนประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง และเห็นแนวโน้มว่าถ้าลทุนโดยตรงจะมีกำไรมากกว่าการนำเข้า เช่น  การลงทุนตั้งโรงานผลิตรถยนต์ของบริษัทญี่ปุ่นหลังจากรถยนต์นำเข้าเป็นที่นิยมและประสบความสำเร็จในตลาดรถยนต์ประเทศไทยแล้ว

 

4. การลงทุนโดยหลักหรัพย์ระหว่างประเทศ (Foreign Portfolio Investment) เป็นการที่ผู้ลงทุนซื้อหลักทรัพย์ที่ขายในตลาดหุ้นของต่างประเทศโดยไม่ได้เข้าไปดำเนินงานในธุรกิจนั้น เช่นเดียวกับการลงทุนโดยตรงและผู้ลงทุนจะได้เงินปันผลหรือกำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ในระยะสั้นเป็นผลตอบแทน

 

5. ธุรกิจระหว่างประเทศรูปแบบอื่น คือธุรกิจระหว่างประเทศที่อยู่ในรูปแบบต่างๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น เช่น การอนุญาต (International Licensing) การให้สิทธิทางการค้า (International Franchising)การทำสัญญาการจัดการ(International Management Contract ) การดำเนินงานแบบเบ็ดเสร็จ (International Turnkey Operation) ฯลฯ

                         


แนวทางการดำเนินงานของธุรกิจระหว่างประเทศ

ธุรกิจข้ามชาติ (Multinational Enterprise หรือ MNE) เป็นธุรกิจที่มีการดำเนินงานในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ธุรกิจข้ามชาติเรียกได้อีกอย่างว่า Multinational Company ซึ่งสามารถแบ่งแนวทางการดำเนินงานออก ได้ 3 ประการคือ

 

1. การดำเนินงานตามแนวทางของบริษัทแม่ทุกประการ (Ethnocentric Orientation) แบ่งแยกตลาดต่างประเทศออกมาจากตลาดภายในประเทศเลย จึงเสนอผลิตภัณฑ์เดียวกันในการตอบสนองความต้องการ โดยไม่ต้องการของลูกค้าในทุกตลาด หรือวิธีการใช้มาตรฐานเดียวกันกับทุกตลาด (Standardized/ Extension Approach) ธุรกิจข้ามชาติที่ดำเนินการในแนวทางนี้ไม่สนใจรับฟังความคิดเห็นในการพัฒาธุรกิจจากบริษัทสาขา และยึดถือแนวทางการดำเนินงานของบริษัทแม่เป็นแนวปฏิบัติของทุกบริษัทสาขา ในบางครั้งบริษัทแม่ขยายตัวเปิด เป็นกิจการในประเทศอื่นเพียงเพื่อระบายสินค้าที่มีมากเกินความต้องการในตลาดแม่เท่านั้น

 

2. การดำเนินงานแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ (Polycentric Orientation รือ Multidomestic Orientation) โดยปรับการดำเนินงานให้เข้ากับประเทศที่เข้าไปลงทุน หลังจากศึกษาสภาพแวดล้อมของแต่ละตลาดอย่างรอบคอบ เรียนรู้ลูกค้าในด้านพฤติกรรมผู้บริโภค ศึกษาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นนั้นแล้วจึงลงมือปรับเปลี่ยนนโยบายตามแนวทางของแต่ละตลาด ดัดแปลงผลิตภัณฑ์และแนวทางการดำเนินงานต่าง ๆให้สอดคล้องเหมาะสมกับแต่ละตลาดโดยปรับให้เข้ากับตลาดท้องถิ่น (Localized Adaptation Approach)

 

3. การดำเนินงานด้วยแนวกลยุทธ์สากล ซึ่งเกิดจากการผสมผสานแนวทางของบริษัทแม่กับกลวิธีแบบท้องถิ่น (Geocentric Orientation) ซึ่งวางนโยบายการดำเนินงานร่วมในลักษณะเป็นกลุ่มตลาดแห่งภูมิภาค หรือใช้นโยบายสากลเช่นเดียวกันกับทุกตลาดทั่วโลก การดำเนินการแบบสากลนี้จัดได้ว่า อยู่ระหว่างกลางของแนวทางที่ยึดบริษัทแม่เป็นหลักและแนวทางที่ดำเนินการแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศท้องถิ่น โดยแนวนโยบายนี้จะผสมผสานความเหมือนและความแตกต่างของแต่ละตลาด แล้วสร้างกลยุทธ์สากลที่สามารถใช้ได้ในทุก ๆ ประเทศอันเป็นแนวทางที่ธุรกิจระหว่างประเทศนิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบันนี้


บทความที่คล้ายกัน