รับส่วนลด 300 บาทสำหรับการซื้อครั้งแรก

ชาพะยอม จากร้านข้างถนนสู่แฟรนไชส์หลายพันสาขาทั่วประเทศ

19 สิงหาคม 2564
ชาพะยอม จากร้านข้างถนนสู่แฟรนไชส์หลายพันสาขาทั่วประเทศ
ในธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีมูลค่ากว่าแสนล้านบาท และมีแบรนด์แฟรนไชส์มากถึง 400 แบรนด์ ชาพะยอมคือหนึ่งในนั้น ชาพะยอมมีอะไรดีที่สามารถขายชาได้ในราคา 25 บาทขาดตัว และสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น วันนี้เราจะพาไปดู กรณีศึกษา ชาพะยอม เขาทำอย่างไร มีแนวคิดอะไร มีกลยุทธ์อะไรซ่อนอยู่ ทำให้ธุรกิจเติบโตได้เช่นนี้

กรณีศึกษา ชาพะยอม

จากร้านข้างถนนสู่แฟรนไชส์หลายพันสาขาทั่วประเทศ

จากกรณีศึกษา ชาพะยอม ทำให้เราทราบว่าจุดเริ่มต้นของชาพะยอมเกิดจากความชื่นชอบในการดื่มชาของ อุไรวัลย์ ไตรจันทร์ ผู้ก่อตั้ง และกรรมการผู้จัดการ บริษัท พะยอม ที จำกัด เธอชื่นชอบดื่มชามาก ๆ จนในที่สุดได้เรียนรู้ คิดค้น และปรุงสูตรเครื่องดื่มเป็นของตัวเอง จนได้สัดส่วนที่ลงตัว จึงตัดสินใจเปิดร้านขายชาเป็นสาขาแรกที่เมืองหาดใหญ่ ด้วยรสชาติที่อร่อย และราคาจับต้องได้ ทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนขยายสาขา (แฟรนไชส์) ได้มากถึง 2,500 สาขา ในเวลาเพียง 5 ปี


 สิ่งที่ผู้ประกอบการควรนำไปประยุกต์จากกรณีศึกษา ชาพะยอม

1. ชาพะยอมให้ความสำคัญเรื่องรสชาติเป็นอันดับ 1 เพราะหากไม่อร่อยลูกค้าพร้อมโบกมือลาทันที! ด้วยรสชาติที่อร่อยถูกปากลูกค้า และมีเมนูให้เลือกมากกว่า 30 รายการ เช่น ชาเชียว ชานม กาแฟ ฯลฯ จึงทำให้แบรนด์เติบโตได้เร็วในเวลาเพียงแค่ 4-5 ปีเท่านั้น ทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไรก็ต้องให้ความสำคัญกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการเป็นลำดับแรก อย่างเช่น เรื่องของรสชาติที่ชาพะยอมให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก

 

2. จากกรณีศึกษา ชาพะยอม ทำให้เราทราบเรื่องกลยุทธ์ราคา สินค้าอร่อย หลากหลาย แต่ราคาสูงเวอร์ คงไม่มีใครซื้อ ราคาของชาพะยอมจึงอยู่ที่ 25 บาททุกเมนู เป็นราคาที่มีความเหมาะสมที่สุดแล้ว ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ เมื่อสินค้ามีคุณภาพบวกกับราคาที่เหมาะสม การเติบโตของธุรกิจก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย

 

3. ชาพะยอมให้ความสำคัญกับทำเลที่ตั้งมาก โดยจะเลือกย่านออฟฟิศ สถานที่ราชการ ซึ่งมีผู้บริโภคจำนวนมาก และหลีกเลี่ยงบางพื้นที่ เช่น ถนนคนเดิน เพราะเป็นจุดที่คนเดินผ่านมากกว่าเดินชิม อยากได้ลูกค้าที่มากขึ้นทำเลที่ตั้งสำคัญมาก ๆ สามารถเอาแนวคิดของชาพะยอมไปปรับใช้ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ได้เลย

 

4. รูปแบบการตลาดของชาพะยอมใช้การบอกต่อ หรือ Word of Mouth ซึ่งมันเป็นวิธีการที่ได้ผลดีมาก ๆ ทั้งประหยัดต้นทุนค่าโฆษณา และมีความน่าเชื่อถือสูง เพราะคนที่บอกต่อมักเป็นคนที่รู้จักและคุ้นเคยกันดี ทำให้การขยายแฟรนไชส์เติบโตอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น

 

5. ทำแฟรนไชส์จะต้องมีการควบคุมคุณภาพให้ดี หากไม่รัดกุมอาจจะทำให้แบรนด์เสียหายได้ ทั้งในเรื่องของบริการ และการปรับสูตรเพื่อประหยัดต้นทุนของเหล่าตัวแทน ควรมีการอบรมสัมมนา หรือทำความใจให้ตรงกันระหว่างแบรนด์กับตัวแทน เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจและแบรนด์รวมถึงตัวแทนอย่างยั่งยืน


สำหรับผู้ประกอบการอย่างเราทุกคน เชื่อว่า กรณีศึกษา ชาพะยอม จะช่วยให้เอาไปต่อยอดในธุรกิจของตัวเองได้หลายอย่างเลย ทั้งเรื่องการตั้งราคา การเลือกทำเลที่ตั้ง การให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้า รวมไปถึงเทคนิคทางการตลาด นำสิ่งเหล่านี้ไปปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจของคุณเอง มั่นใจได้เลยว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นแน่นอน


บทความที่คล้ายกัน