ลดหย่อนปี 2563 มีอะไรบ้าง
“ ค่าลดหย่อน ” คือ เป็นสิทธิประโยชน์ที่กฎหมายบอกว่า ถ้าเรามีภาระดังต่อไปนี้ จะสามารถนำมาเป็นตัวช่วยที่นำมาหักออกจากรายได้ก่อนนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรามาดูกันว่าค่าลดหย่อนแต่ละกลุ่มมีอะไรบ้าง
กลุ่มลดหย่อนส่วนตัว และ ครอบครัว
1. ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
2. ลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
3. ลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท
* กรณีบุตรคนที่ 2 ที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 จะได้เพิ่มคนละ 30,000 บาท เป็นคนละ 60,000 บาท
4. ค่าคลอดบุตร ท้องละ 60,000 บาท
5. ลดหย่อนบิดามารดา คนละ 30,000 บาท
6. ลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
กลุ่มประกันสุขภาพ และ ประกันชีวิต
7. ประกันชีวิตทั่วไป 100,000 บาท
8. ประกันสุขภาพ 25,000 บาท
* ลดหย่อนประกันชีวิต และ ประกันสุขภาพ รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท
9. ประกันชีวิตคู่สมรส 10,000 บาท
10. ประกันสุขภาพบิดา มารดา 15,000 บาท
กลุ่มส่งเสริมการออม และการลงทุน
11. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กบข. / สงเคราะห์ครู 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
12. กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
13. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
14. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
15. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ไม่เกิน 13,200 บาท
* ค่าลดหย่อนข้อ 11 – 15 รวมกันต้องไม่เกิน 500,000 บาท
16. กองทุนเพื่อการออมพิเศษ (SSF – EXTRA) ไม่เกิน 200,000 บาท
17. ประกันสังคม ไม่เกิน 5,850 บาท
* เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ปีที่ผ่านมา ทางภาครัฐได้มีการปรับลดอัตราเงินสมทบการนำส่งประกันสังคมทำให้เหลือ 5,850 บาท จากเดิม 9,000 บาท
กลุ่มสินทรัพย์ และกระตุ้นเศรษฐกิจ
18. ดอกเบี้ยบ้าน สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
19. บ้านหลังแรก สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท
20. ค่าธรรมเนียม (ชำระด้วยบัตรเครดิต) เพิ่ม 1 เท่าตามที่จ่ายจริง
21. ช๊อปดีมีคืน ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท
*สำหรับการซื้อระหว่าง 23 ตุลาคม 2563 – 31 ธันวาคม 2563
กลุ่มบริจาค
22. พรรคการเมือง ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 10,000 บาท
23. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา สังคม และโรงพยาบาลรัฐ 2 เท่าของเงินบริจาคตามจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักลดหย่อน
24. เงินบริจากอื่นๆ หักตามจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักลดหย่อน
ระยะเวลาในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น สามารถยื่นได้ 2 ช่องทางนั้นก็ คือ
1. ยื่นแบบกระดาษ ภ.ง.ด.90/91 ที่กรมสรรพากรพื้นที่ใกล้บ้าน ระยะเวลาในการยื่นแบบภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564
2. ยื่นแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร https://rd.go.th/272.html ระยะเวลาในการยื่นแบบ ตามเดิมเป็นวันที่ 8 เมษายน 2564 แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทางภาครัฐเลยมีการขยายระยะเวลาในการยื่นแบบออนไลน์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
สูตรของการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน * อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องชำระ