รับส่วนลด 300 บาทสำหรับการซื้อครั้งแรก

ภาษีที่ต้องทำความเข้าใจเมื่อขายของออนไลน์

26 สิงหาคม 2564
ภาษีที่ต้องทำความเข้าใจเมื่อขายของออนไลน์

ภาษีที่ต้องทำความเข้าใจเมื่อขายของออนไลน์

ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ต้องการที่จะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แต่ไม่ต้องการที่จะลงทุนมากๆ หรือแค่ทำเป็นอาชีพเสริมในเวลาที่ว่างจากการทำงานประจำ เพื่อต้องการที่จะหารายได้มากขึ้น โดยช่องทางที่ง่ายและสะดวก มีคนลงทุนมากที่สุดวิธีหนึ่งก็คือ การขายของออนไลน์ ไม่ว่าจะทางช่องทาง Facebook, Line, Instagram หรือสื่อออนไลน์ต่างๆอีกมากมาย แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจและให้ความสำคัญถึงการยื่นแบบภาษี

สำหรับผู้ที่มีรายได้จากการขายของออนไลน์ จะต้องยื่นแบบและเสียภาษีให้แก่กรมสรรพากรด้วย เพราะรายได้จากการขายของออนไลน์ ถือเป็นรายได้ประเภทที่ 40(8) ซึ่งไม่ได้รับการยกเว้นภาษี และจะต้องมีการเก็บเอกสารหลักฐานต่างๆ เช่น หลักฐานการซื้อสินค้าหรือบริการ การรับโอนเงิน เอกสารการทำบัญชีต่างๆ เพื่อใช้สำหรับประกอบในการคำนวณและเสียภาษีให้ถูกต้อง สิ่งสำคัญที่ผู้ที่ขายของออนไลน์ต้องทำความเข้าใจให้ดีคือรูปแบบการเสียภาษีจากการขายของออนไลน์ ผู้ขายของออนไลน์จะต้องรู้ก่อนว่ากิจการของตนเองอยู่ในรูปไหน บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล โดยหน้าที่ในการเสียภาษีให้กับกรมสรรพากร จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มMonthly expense planning. reminder for appointment. payment deadline, worker with timetable, organizer schedule. countdown to payday. vector isolated concept metaphor illustration. Free Vector


ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคมของปีถัดไป ซึ่งเป็นการนำรายได้จากการขายสินค้าและบริการของทั้งปีมาคำนวณภาษี โดยผู้ที่เคยยื่นภาษีบุคคลธรรมดาครึ่งปีไว้สามารถนำมาเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีได้ด้วย

ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน ของแต่ละปี เป็นการยื่นภาษีครึ่งปี เป็นการนำรายได้ที่เกิดในช่วงครึ่งปีแรก มกราคม - มิถุนายน มาคำนวณภาษี ภาษี สูตรในการคำนวณภาษีคือ  (รายได้ - ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายได้แบบตามจริงและแบบเหมา 60%

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

จะต้องเสียภาษีตามเกณฑ์กำไรสุทธิตามกฎหมายภาษีอากร ในอัตราสูงสุดไม่เกิน 20% ของกำไรสุทธิ ต้องยื่นแบบภาษีครึ่งปี ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของระยะเวลาบัญชี แบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แต่ถ้ากิจการขาดทุนไม่ต้องเสียภาษีนิติบุคคล

         

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

หากผู้ประกอบการมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท / ปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีให้สรรพากรทุกวันที่ 15 ของแต่ละเดือน โดยต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 คำนวณจากยอดภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี และมีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานภาษี รายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย


อย่างไรก็ตามก่อนที่จะมีการลงทุนหรือทำการใด ควรที่จะศึกษาข้อมูลต่างๆให้ดี เพื่อที่จะได้มีการวางแผนรับมือกับปัญหาต่างๆได้ดี ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบในการประกอบธุรกิจ รูปแบบการเสียภาษี และการบริหารจัดการในการบริหารต่างๆ


บทความที่คล้ายกัน